วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การบ้าน

1.ห้องสนทนาคืออะไร มีวีธีการใช้อย่างไร
-Chat Room (ห้องสนทนา) คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความถึงกัน โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็วแม้ไม่ได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ในทันที  ไม่จำกัดอายุและเพศ เราสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนได้ ไม่ว่าจะเพื่อความรู้ หรือบันเทิง
ก่อนอื่นเราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแชทของ BZARD ทั้งหมดก่อน โดยแชทรูมทั้งหมดที่เพื่อนๆเห็นนี้ ถูกส่งมาจากเจ้าของห้องแชทต่างๆ ซึ่งนำมาเก็บรวบรวมไว้ใน BZARD แห่งนี้ ดังนั้นแชททั้งหมดนี้จึงสามารถลิงค์และใช้งานร่วมกันได้ เนื่องจากใช้ระบบเดียวกันนั่นคือระบบแชทของ XAT นั่นเอง แชทรูม XAT นั้นเป็นที่นิยมจากทั่วโลกและมีประเทศที่ใช้งานมากกว่า 40 ประเทศ และแน่นอนประเทศไทยมีเว็บไซต์ต่างๆนำแชท XAT ไปใช้กันอย่างมากมาย เนื่องจากดูแลง่ายและไม่ต้องทำแชทรูมเองอีกทั้งสามารถปรับแต่งอะไรต่อมิอะไรได้อีกมากมาย และข้อดีที่สุดของมันคือ การที่สมาชิกหรือผู้ใช้งานสามารถที่จะใช้งานร่วมกันได้ไม่ว่าจะไปเล่นเว็บใดก็ตามที่มีระบบ XAT ติดตั้งอยู่ การเล่นแชท XAT นั้นมีลูกเล่นต่างๆมากมายและสำหรับผู้เล่นมือใหม่ก็ไม่ยากนักที่จะเริ่มทำความเข้าใจ และหากคุณสามารถเล่นได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว คุณจะสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับมันแบบลืมเวลาเลยทีเดียว อีกทั้งที่นี่ BZARD.com เราได้รวบรวม แชท XAT จากทั่วโลกเอาไว้มากมาย คุณสามารถเข้าไปร่วมพูดคุยกับทุกคนบนโลกใบนี้ได้เพียงปลายนิ้วคลิก

2.เครือข่ายสังคมคืออะไร  มีประโยชน์อย่างไร  จงยกตัวอย่างมา 1 แบบ
- เครือข่ายทางสังคม เป็น โครงสร้างสังคม ทำจากบุคคล (หรือองค์กร) ที่เรียกว่า"โหนด"ซึ่งมีการเชื่อมโยง (ต่อ) โดยหนึ่งหรือหลายประเภทเฉพาะของ interdependency, เช่น มิตรภาพ, ระบบเครือญาติ, การแลกเปลี่ยนทางการเงินไม่ชอบ ความสัมพันธ์ทางเพศหรือความสัมพันธ์ของความเชื่อความรู้หรือ ศักดิ์ศรี.
- การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม views ความสัมพันธ์ทางสังคม ในแง่ของการ ทฤษฎีเครือข่าย ประกอบด้วย โหนด และ ความสัมพันธ์. โหนด เป็นนักแสดงแต่ละคนภายในเครือข่ายและความสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างนักแสดง ที่เกิดขึ้น กราฟโครงสร้างพื้นฐานมักจะมีมาก ซับซ้อน. สามารถมีได้หลายชนิดของความสัมพันธ์ระหว่างโหนด การวิจัยในจำนวนของเขตการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าเครือข่ายทางสังคมดำเนินการในระดับมากจากครอบครัวที่มาถึงระดับของประเทศและมีบทบาทสำคัญในการกำหนดวิธีที่จะแก้ไขปัญหาขององค์กรที่มีการทำงานและระดับที่บุคคลประสบความสำเร็จ ในการบรรลุเป้าหมายของพวกเขา


โดย ด.ญ.อัจฉรา    สาคร   ม.2/3  เลขที่ 34
ส่ง อ.พุธชาติ     มั่นเมือง 

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต

กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ
การทำงานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ต น่าใช้และเป็นประโยชน์ กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยง ในการส่งกระจายข่าวลือไปเป็นจำนวนมาบนเครือข่าย การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบลูกโซ่ เป็นต้น ดังนั้นนักเรียนควรปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท หรือ จรรยาบรรณของการรวบรวมเว็บไซด์ต่าง ๆ เอาไว้ เราเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการแล้วเข้าใช้อินเทอร์เน็ตในด้านต่อไปนี้คือ
· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat )
· การใช้กระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด
· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat)

บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการโต้ตอบแบบออนไลน์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาท อีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาทสำคัญดังนี้· ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย
· ควรใช้วาจาสุภาพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
· ก่อนเรียกสนทนา ควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก เพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฎบนจอภาพ ของฝ่ายที่ถูกเรียกซึ่งจะทำให้สร้างปัญหาในการทำงานได้
·การใช้บริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด

บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ดให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือข้อมูลข่าวสารถึงกัน ดังนั้นในการใช้ บริการควรเคารพกฎ กติกา มารยาทดังนี้
·
ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังการระเมิดหรือสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
· ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียน ไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเข้าของเรื่อง
· ไม่ควรใช้ข้อความขบขัน คำเฉพาะ คำกำกวม และคำหยาบคายในการเขียนข่าว
· ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องเขียนให้ตรงกับกลุ่มและเมื่อจะตอบต้องตอบให้ตรงประเด็น
จริยธรรมในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ไม่โฆษณาหรือเสนอขายสินค้า
2. รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร
3. ถ้าไม่เห็นด้วยกับหลักพื้นฐานของรายชื่อกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ก็ควรออกจากกลุ่มไม่ควรโต้แย้ง
4. คิดก่อนเขียน
5. อย่าใช้อารมณ์
6. พยายามอ่านคำถามที่ถามบรอย (FAQ) ก่อนเสมอ
7. ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่
8. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ
9. ถ้าสงสัยไม่ทำดีกว่า
10. รู้ไว้ด้วยว่าสำหรับผู้เขียน คือ บันทึกฉันท์เพื่อน แต่สำหรับผู้รับ คือ ข้อความที่จารึกไว้บนศิลาจารึก
11. ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน
12. อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง
13. ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง
 
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มี
ความประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย 
เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด
                ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับของเครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบ
ต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ
เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก  การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้
ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะต้องเดิทางผ่าน
เครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง  ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย
                การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี
กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
             เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข  Arlene  H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก 
จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้

            จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

           ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมล์บ็อกซ์หรืออีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งจดหมาย  ความรับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมล์ในระบบ
จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพราะจดหมายมีการรับส่งโดยระบบ ซึ่งหากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมากจะทำให้พื้นที่     
บัฟเฟอร์ของจดหมายในระบบหมด  จะเป็นผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้ หลายต่อหลายครั้งระบบปฏิเสธ
การรับส่งจดหมายเพราะไฟล์ระบบเต็ม
                ดังนั้นจึงควรมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mail box) ของตนเองดังนี้
ตรวจสอบจดหมายทุกวันและจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เลือกภายในโควต้า ที่กำหนด
  • ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสก็ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย
    (mail box) มีจำนวนน้อยที่สุด
  • ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง
  • พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่า
    ไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย
จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา

            บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคำสั่งให้ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างออนไลน์หลายคำสั่งเช่น write, talk หรือมีการสนทนา
เป็นกลุ่มเช่น IRC เป็นต้น ในการเรียกหาหรือเปิดการสนทนาตลอดจนการสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญได้แก่
  • ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย  หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย
    ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้
  • ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียกเพราะการเรียกแต่ละครั้ง
    จะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหาการทำงานได้ 
    เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้
  • หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ
    ขอให้หยุดการเรียกเพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว
  • ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น
จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าว ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

                ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบ เช่น ยูสเน็ตนิสว์  (UseNet News) ระบบสมาชิกแจ้งข่าวหลายสมาคม
บอกรับสมาชิกและให้ข่าวสารที่สม่ำเสมอกับสมาชิกด้วยการส่งเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า Mailing  lists
ผู้เสนอ ข่าวและผู้อภิปราเรื่องต่าง ๆที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก เช่นข่าวบนยูสเน็ตนิวส์แต่ละกลุ่มเมื่อส่งออกจะกระจาย
ไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ ทั่วโลกผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดาษ  
ข่าวจะต้องเคารพกฏกติกามารยาทโดยเคร่งครัดข้อปฏิบัติที่สำคัญได้แก่
  • ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพเข้าใจได้
  • ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง
  • ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า
  • ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอยหรือข่าวลือหรือเขียนข่าวเพื่อความสนุก
    โดยขาดความรับผิดชอบ
  • จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล
  • ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อ ๆ กันมาการเขียนข่าวจึงควรพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย
    โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก
  • ไม่ควรให้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตนในเรื่องการค้า
  • การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซนตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ  ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต
    หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
  • ในการทดสอบการส่งไม่ควรทำพร่ำเพื่อการทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว
    เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก
  • หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ตัวอักษรใหญ่ที่มีความหมายถึงการตะโกนหรือการแสดงความไม่พอใจในการเน้น
    คำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความ* แทน
  • ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง
  • ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขันหรือคำเฉพาะคำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว
  • ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
  • ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่นเช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อและเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา
  • ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น
  • เมื่อต้องการใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น
    • IMHO-in  my  humble /  honest  opinion
    • FYI-for  your  information
    • BTW-by  the  way
  • การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวและระลึกเสมอว่าข่าวที่เขียนหรืออภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก
    และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก
  • ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น และเมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น
  • ในการบอกรับข่าวด้วย mailing  list  และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน
    (พีซี) หรือลบออกจาก mail box และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ
    เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก
         บัญญัติ 10 ประการ
        ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ
1.       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2.       ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.       ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4.       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.       ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.       ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.       ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.       ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10.    ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ  กติกามารยาท

         จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์
ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน
 บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน  เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมาย
ก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน

อินเทอร์เน็ตกับผลกระทบต่อสังคมไทย

         อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ดังจะเห็นได้จากหนังสือพิมพ์วารสาร รายการทางโทรทัศน์ และวิทยุต่างๆ
ได้นำเรื่องของอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่นำเสนอต่อสารธารณะในแง่มุมต่างๆ มีทั้งนำเสนอเรื่องราวที่เป็นแง่บวกและลบ 
จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการพิจารณากันให้ถี่ถ้วนมายิ่งขึ้น แนวโน้มของการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากขิ่งขึ้นและในรูปแบบ
ที่หลากหลายมากว่าเดิม การห้ามไม่ให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมต่างชาติเข้ามานั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นแต่ละสังคมหรือประเทศนั้น
จำเป็นต้องมีการดำเนินการบางประการเพื่อให้วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีไม่ถูกกลืนหรือสูญหายไปจากสังคม วิธีการหนึ่งก็คือการส่งเสริม
และให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถทำได้ง่าย และได้กลุ่มผู้รับข่าวสารมากยิ่งขึ้น
การใช้อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบ ผลกระทบทางด้านบวก เช่น สามารถได้รับความรู้และข้อมูลข่าวสารมากยิ่งขึ้น
ทำให้ประชาชนมีความรู้ สามารถหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ปละทันสมัย ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต และยังทำให้
สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้สะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง สำหรับผลกระทบทางด้านลบ เช่น อาจจะทำให้เยาวชน
ได้รับข้อมูลหรือภาพในทางที่ไม่ดีได้ ดังนั้นผู้ปกครองจำเป็นต้องช่วยดูและบุตรหลานในการใช้อินเทอร์เน็ต เช่น ดูแลให้ใช้อินเทอร์เน็ต
เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยและใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส
์หรือการสนทนาบนเครือข่าย แต่อย่างไรก็ตามต้องใช้ด้วยความรอบคอบ  ควรตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับ สนทนาใน
เรื่องที่เป็นประโยชน์ และต้องตระหนักถึงความจำเป็นและความเหมาะสมในเรื่องของเวลา และเนื้อหาที่ใช้ในการสนทนาด้วย

ข้อควรระวัง
การใช้งานอินเทอร์เน็ตในการส่งข้อมูลอาจจะทำให้เกิดความไม่เสมอภาคกันในเรื่องของการรับข้อมูลข่าวสารได้
ยกตัวอย่าง เช่น ในขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เผยแพร่ข้อมูลเรื่องโรคระบาดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
คนที่อาศัยอยู่ในเมืองสามารถรับทราบข่าวนี้ได้ และมีการเตรียมตัวเพื่อป้องกันโรคระบาดเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นกับตน
แต่คนที่อาศัยอยู่ในชนบทไม่สามารถรับข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้ อาจจะเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ เทคโนโลยี
และความรู้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้ไม่สามารถเตรียมตัวป้องกันและติดโรคระบาดนี้ในที่สุด
จะเห็นว่าจากตัวอย่างนี้ เป็นผลกระทบของอินเทอร์เน็ตในเรื่องของความเสมอภาคในการรับข้อมูลข่าวสาร
ฉะนั้นการใช้อินเทอร์เน็ตต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและนำเสนอให้คนทั่วไปเข้าใจว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเพียง
สื่อหนึ่งเหมือนกับสื่อทั่วไป สื่อจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้ใช้

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนะนำตัวเอง

ด.ญ.อัจฉรา   สาคร    ชื่อเล่น แอ๊ะ    ชั้นม.2/3   เลขที่ 34
วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน2 เสนอ คุณครูพุธชาติ  มั่นเมือง